เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คน 2 คนก่อการทะเลาะกัน เรียกว่าคู่ทะเลาะ
คน 2 คนก่อการบาดหมางกัน เรียกว่าคู่บาดหมาง
คน 2 คนก่อการอื้อฉาวกัน เรียกว่าคู่อื้อฉาว
คน 2 คนก่อการวิวาทกัน เรียกว่าคู่วิวาท
คน 2 คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคู่อธิกรณ์
คน 2 คนสนทนากัน เรียกว่าคู่สนทนา
คน 2 คนเจรจากัน เรียกว่าคู่เจรจา ฉันใด
ธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้ม
ด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง 2 คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ ได้แก่ ของบุคคลผู้ประกอบ
ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ผู้ประพฤติเรื่องนั้น
มากไปด้วยเรื่องนั้น หนักในเรื่องนั้น เอนไปในเรื่องนั้น โอนไปในเรื่องนั้น โน้มไป
ในเรื่องนั้น น้อมใจไปในเรื่องนั้น มุ่งเรื่องนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ของบุคคลผู้
ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลดังนี้ เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ เป็นคำ
กล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง
คำว่า ติสสะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม
การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตรของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การ
ขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน รวมความว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะ
กราบทูลดังนี้
คำว่า ความคับแค้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกความคับแค้น อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความคับแค้น คือ ความ
เคียดแค้น ความบีบคั้น ความอึดอัด ความเบียดเบียน ความขัดข้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าว
โดยความเคารพ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้
เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกความคับแค้น
คำว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว อธิบายว่า ฟังแล้ว คือ สดับแล้ว
เรียนแล้ว ทรงจำแล้ว กำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว

ว่าด้วยวิเวก 3
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า
คำว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก 3 อย่าง คือ (1) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
(2) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ) (3) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)
กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูป
เดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูป
เดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากาสนัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด
จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :170 }